เวลาทำการ
จันทร์ - ศุกร์ 09:00 - 18:00 น.
Call Center
08-1655-9898

ฮักน่าน เมืองต้องห้ามพลาด Plus เมืองแพร่ EP.1

02/09/2019 | by WeTrips Travel

ฮักน่าน เมืองต้องห้ามพลาด Plus เมืองแพร่…EP.1

การเดินทางของ “ยางนาพาเที่ยว” ไม่มีวันสิ้นสุดค่ะ เราทีมงานพร้อมหาเส้นทางใหม่ ๆ และเป็นเส้นทางที่น่าสนใจมานำเสนอให้กับผู้หลงรักการเดินทางกับครอบครัวยางนาพาเที่ยว
และยางนาจะพาท่านไปทุกหนแห่งที่ท่านอยากจะเดินทางไปสัมผัส และไปพร้อมกับเรา วีทริป แทรเวล เพราะทุกการเดินทางสร้างรอยยิ้มเสมอ

ครั้งนี้ถ้าไม่เอ่ยถึงเมืองน่าน ที่แสนจะน่าฮัก เราคงต้องตกยุคแน่ ๆ เพราะเมื่อไปถึง เป็นต้องหลงเสน่ห์ และหลงฮักน่าน นานนาน แน่นอน…การเดินทางไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ
ท่านสามารถที่จะนั่งรถ จากกรุงเทพฯ ไปถึงเมืองน่าน ผ่านเมืองแพร่ รวมระยะทางร่วม 700 กิโลเมตร ระหว่างทางสามารถแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อาทิ ผ่าน จ.พิษณุโลก
แวะนมัสการขอพรพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองชาวสองแคว หรือผ่าน จ.อุตรดิตถ์ เมืองพระยาพิชัยดาบหัก เมืองถิ่นรักพระลอ ผ่าน จ.แพร่ ประตูสู่ล้านนา
แวะสักการะพระธาตุช่อแฮพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีขาล (เสือ) และช้อปปิ้งสินค้าที่เป็นความภูมิใจของชาวหมู่บ้านทุ่งโฮ้ง นั่นก้อคือ ผลิตภัณฑ์ “หม้อห้อม”
ให้เลือกมากมายหลากหลายแบบหรือจะไปชมความแปลกของธรรมชาติที่สรรค์สร้างมาให้เราได้เข้าไปสัมผัสกับ “แพะเมืองผี” ที่เกิดจากการกัดเซาะจนกลายเป็นรูปร่างต่าง ๆ
ตามจินตนาการของผู้พบเห็นรวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ เท่านี้เส้นทางสายโรแมนติคสายนี้ก้อมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ก่อนที่จะถึงเมืองน่าน หรือจะเลือกนั่งเครื่องบิน
ไปลงเมืองน่านก็มีสายการบินรองรับบินสู่เมืองน่านนคร

จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนาไว้อย่างสมบูรณ์ จนยางนาพาเที่ยว หลงฮักเมืองน่าน และ จ.น่าน
ได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้เป็นเมืองต้องห้าม….พลาดน่าน Plus เมืองแพร่ เมืองพี่เมืองน้อง ผู้คนน่ารักและมีเสน่ห์ กับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย


พระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย องค์พระธาตุสรั้างเมื่อ พ.ศ.2030 เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในเจดีย์ประดิษฐาน
พระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้านบนเขาน้อยสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตัวเมืองน่าน และเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน”
พระพุทธรูปปางประทานพร ยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นในมหามงคลที่รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา)
พระธาตุแช่แห้ง สร้างขึ้นบนภูเพียงแช่แห้ง ในปี พ.ศ.1902 เมื่อคราวอพยพผู้คนมาจากเมืองปัวมาสร้างเมืองใหม่ พระธาตุแช่แห้งถือเป็นศูนย์กลางของเมืองน่าน
เป็นศิลปะกรรมแบบล้านนาเจดีย์ทรงระฆังบุทองจังโก เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคูเมืองของจังหวัด พระบรมธาตุแช่แห่งเป็นพระธาตุราศีของคนเกิดเถาะ (ปีกระต่าย)
ชาวล้านนาเชื่อว่า หากได้เดินทางไป “ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง


วัดภูมินทร์ เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ชื่อตามพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างไว้หลังจากครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139
ตามพระราชพงศาวดารเมืองน่าน ตัวอาคารสร้างเป็นทรงจตุรมุข หนึ่งเดียวในประเทศไทย เป็นทั้งพระอุโบสถและพระวิหารและพระเจดีย์ประธาน
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
จุดเด่นของวัดนอกจากอาคารทรงจตุรมุข ยังมีงานจิตรกรรมฝาผนัง ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาดกในพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตความเป็นอยู่
ตำนานพื้นบ้านเมืองน่าน และภาพที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งดงามที่สุดของวัดภูมินทร์

ภาพ : ปู่ม่าน ย่าม่าน “กระซิบรักบันลือโลก” ฝีมือสล่า (ช่างเขียนภาพ) ของเมืองน่าน
พิพิธภัณฑสถานนแห่งชาติน่าน ตั้งอยู่ตรงขามกับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นอาคารแบบยุโรปผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน
เดิมเป็น “หอคำ” ที่ประทับและออกว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ภายหลังใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดน่านแห่งแรก
และปรับปรุงให้เป็นอาคารพิพิธภณฑสถานแห่งชาติน่าน ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
เครื่องปั้นดินเผา และแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเมืองน่าน อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาสมบัติอันล้ำค่าของเมืองน่าน คือ “งาช้างดำ” วัตถุมงคลโบราณคู่บ้านคู่เมืองน่าน
วัดน้อย วัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ที่เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้กราบบังคมทูลจำนวนวัดต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เกินไป 1 วัด จึงสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีก 1 วัด ตามจำนวนจริง เมื่อคราวเสด็จยัง จ.น่าน ในสมัยนั้น
ซุ้มอุโมงค์ต้นลีลาวดี ภายในพิพิธภัณฑ์ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
เป็นวัดหลวงที่เจ้าผู้ครองนครน่านใช้ประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย
เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานเจดีย์ปั้นเป็นรูปช้างก่ออิฐถือปูน ด้านละ 5 เชือก ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย
ภายในวิหารประดิษฐาน “พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี” พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางประทานอภัย ศิลปะเชียงแสนขนาดใหญ่ ฝีมือสกุลช่างเมืองน่านที่มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่ง

นี่คือส่วนหนึ่งของเมืองน่าน แล้วเราจะไม่หลงรักน่าน นาน นาน ได้อย่างไรกัน
ติดตาม ความน่าฮักของเมืองน่าน Plus เมืองเเพร่ได้ใน EP.2 นะค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ขอบคุณภาพ : วีทริป แทรเวล
ติดตามยางนาพาเที่ยว วีทริป แทรเวล ได้ที่
Website : https://wetripstravel.com/
Facebook : https://www.facebook.com/WeTripsWeTravel
Fanpage : WeTripsTravel
Instagram : www.instagram.com/wetripstravel
Email : wetripstravel@gmail.com , sales@wetripstravel.com
Tel : 0-2054-6119 
  09.00-17.00 .
Hotline : 08-1655-9898
Line@ : @wetripstravel