ข้อมูลพื้นฐานเรื่องเงินในญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวไม่รู้ไม่ได้!
“เงิน” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการท่องเที่ยว ในครั้งนี้เราก็ได้รวบรวมความรู้เรื่องเงินในญี่ปุ่นที่ควรรู้มาไว้ที่นี่เรียบร้อยแล้วล่ะค่ะ เดี๋ยวเรามาดูกันเลยดีกว่า ^^
ประเภทของธนบัตรและเหรียญในญี่ปุ่น

จาก ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ「เงิน」ของประเทศญี่ปุ่น
ประเภทของเงินในญี่ปุ่นมีทั้งหมด 10 แบบด้วยกัน ตั้งแต่ค่าเงินที่ใหญ่ที่สุดอย่างธนบัตร 1 หมื่นเยนไปจนถึงค่าเงินที่เล็กที่สุดอย่างเหรียญ 1 เยนเลยล่ะค่ะ
ธนบัตร:ธนบัตร 1 หมื่นเยน, ธนบัตร 5 พันเยน, ธนบัตร 2 พันเยน, ธนบัตร 1 พันเยน
เหรียญ:เหรียญ 500 เยน, เหรียญ 100 เยน, เหรียญ 50 เยน, เหรียญ 10 เยน, เหรียญ 5 เยน, เหรียญ 1 เยน
ธนบัตร 2 พันเยนแทบไม่ค่อยพบเห็นกันเท่าไหร่นัก
ร้านค้าส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นอย่างโรงแรมและร้านอาหารจำเป็นต้องจ่ายด้วยเงินสด เนื่องจากตามร้านค้าขนาดเล็กและเรียวกังบนภูเขาลึกมักจะไม่รองรับบัตรเครดิต จึงขอแนะนำให้เตรียมเงินสดติดตัวเอาไว้จะปลอดภัยที่สุด
บัตรเครดิตที่สามารถใชได้ในญี่ปุ่น

บัตรเครดิตสากลอย่าง VISA, MASTERCARD, JCB, Diners Club และ American Express สามารถใช้ได้ทั่วไปในญี่ปุ่น
ในปัจจุบัน ร้านค้าที่รองรับบัตร UnionPay ค่อยๆเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่บัตรเครดิตก็ตาม แต่นอกจากแหล่งท่องเที่ยวหลักๆแล้วก็ยังไม่ค่อยรองรับซะส่วนใหญ่
นอกจากนี้ เรายังสามารถถอนเงินสดในสกุลเงินเยนญี่ปุ่นจากตู้ ATM ที่รองรับได้ ถ้าเกิดเรามีบัตรเงินสดระหว่างประเทศที่สามารถถอนเงินจากต่างประเทศได้
การแลกเงินในญี่ปุ่น

จาก เวลาที่เงินสดไม่พอ! สถานที่4แห่งสำหรับแลกเงินในญี่ปุ่น
ตามสนามบินนานาชาติไม่ว่าจะเป็นสนามบินนาริตะหรือสนามบินฮาเนดะ และตามเมืองใหญ่ๆในญี่ปุ่น เช่น ชินจุกุ ชิบุย่า ย่านอุเมดะในโอซาก้า และเมืองเกียวโต เราสามารถพบจุดแลกเงินได้อย่างไม่ยากเย็นเมื่อเทียบกับแห่งอื่นๆ โดยเฉพาะตามสถานีรถไฟ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนหนาแน่นมักจะมีตั้งเอาไว้ให้บริการอยู่แล้ว
สำหรับข้อมูลรายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านได้จากบทความ「เวลาที่เงินสดไม่พอ! สถานที่4แห่งสำหรับแลกเงินในญี่ปุ่น」
ภาษีผู้บริโภคในญี่ปุ่น
ภาษีผู้บริโภคในญี่ปุ่นอยู่ที่ 8% ณ ปัจจุบัน เนื่องจากในญี่ปุ่นมีทั้ง “อุจิเซเฮียวคิ” และ “โซโตะเซเฮียวคิ” จึงควรเช็คให้ดีก่อนทุกครั้ง “อุจิเซเฮียวคิ” คือ การบวกมูลค่าภาษีเข้าไปในราคาสินค้าที่โชว์เรียบร้อยแล้ว ส่วน “โซโตะเซเฮียวคิ” นั้นมีความหมายตรงกันข้ามก็คือยังไม่ได้บวกมูลค่าภาษีนั่นเอง
ตามร้านสะดวกซื้อจะเป็นแบบ “อุจิเซเฮียวคิ” แต่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารบางแห่งก็เป็นแบบ “โซโตะเซเฮียวคิ” โดยบวกมูลค่าภาษีเข้าไปในราคาที่โชว์ตอนชำระเงิน
แถมบางที “อุจิเซเฮียวคิ” และ “โซโตะเซเฮียวคิ” ก็ทำให้ราคามีความแตกต่างกันอย่างมากด้วย หลายคนมักจะเจอปัญหาที่ว่าราคาที่โชว์กับราคาตอนชำระเงินแตกต่างกัน สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าสินค้าที่ต้องการซื้อรวมภาษีแล้วหรือยังก็ขอแนะนำให้สอบถามพนักงานล่วงหน้าจะสบายใจกว่าเนอะ
นอกจากนี้ สำหรับใครที่ช้อปปิ้งเยอะก็ขอแนะนำให้ใช้บริการระบบปลอดภาษีตามร้านค้าปลอดภาษีที่สามารถขอเงินภาษีผู้บริโภคคืนได้จะดีที่สุด
ระบบปลอดภาษี
“ระบบปลอดภาษี” เป็นระบบที่นักท่องเที่ยวขาช้อปที่มาเที่ยวญี่ปุ่นไม่รู้ไม่ได้เลยทีเดียว โดยเป็นการขอเงินภาษีผู้บริโภค (8%) คืนเมื่อช้อปปิ้งสินค้ามูลค่ารวมมากกว่า 5,400 เยนขึ้นไปต่อ 1 ใบเสร็จตามร้านค้าที่มีบริการปลอดภาษี
ร้านค้าที่มีบริการปลอดภาษีมีมากมายตามเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นร้านขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง Bic Camera, Uniqlo, ร้านขายยาอย่าง Matsumoto Kiyoshi และเครือข่ายร้านค้าปลอดภาษีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง Laox เป็นต้น
การใช้บริการระบบปลอดภาษี
บุคคลที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้ : ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นไม่เกิน 6 เดือน (ไม่รวมชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในญี่ปุ่น), ชาวต่างชาติที่เป็นข้าราชการของรัฐบาลต่างประเทศหรือหน่วยงานระหว่างประเทศ, ผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น แต่พำนักอยู่ในต่างประเทศมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
※ ผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นนอกเหนือจากนั้นไม่สามารถขอยกเว้นภาษีได้
※ เจ้าตัวต้องมาซื้อเอง (ตัวแทนไม่ได้รับอนุญาต)
นอกจากนี้ สินค้าที่สามารถซื้อเป็นสินค้าปลอดภาษีได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วยสินค้าทั่วไป เช่น นาฬิกาและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และสินค้าสิ้นเปลือง เช่น อาหารและเครื่องสำอาง
(สินค้าทั่วไป)
สินค้าที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้:เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องประดับ, นาฬิกา, รองเท้า, สินค้าจิปาถะ, อัญมณี และศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
มูลค่าที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้:มูลค่ารวมต่อ 1 ร้านใน 1 วันมากกว่า 5,400 เยนขึ้นไป (รวมภาษี)
เงื่อนไขในการขอยกเว้นภาษี:สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภคเอง (ห้ามซื้อไปเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า), ผู้ซื้อจำเป็นต้องนำกลับประเทศไปในสภาพที่สินค้าถูกปิดผนึกในถุงภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น
(สินค้าฟุ่มเฟือย)
สินค้าที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้:อาหาร, ผลไม้, เครื่องดื่ม, ยา, เครื่องสำอาง และบุหรี่ เป็นต้น
มูลค่าที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้:มูลค่ารวมต่อ 1 ร้านใน 1 วันตั้งแต่ 5,400 เยนไปจนถึง 540,000 เยน (รวมภาษี)
เงื่อนไขในการขอยกเว้นภาษี:สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภคเอง (ห้ามซื้อไปเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า), ผู้ซื้อจำเป็นต้องนำกลับประเทศไปในสภาพที่สินค้าถูกปิดผนึกในถุงภายในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันซื้อ
ในกรณีที่มูลค่ารวมของสินค้าตามที่ระบุไว้ข้างต้นต่อการซื้อ 1 ครั้งมากกว่า 5400 เยนก็อย่าลืมไปขอดำเนินการยกเว้นภาษีกันด้วยนะคะ ^^
สำหรับข้อมูลรายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านได้จาก「[คู่มือช้อปปิ้งของญี่ปุ่น] วิธีการใช้บริการร้านค้าปลอดภาษีในประเทศญี่ปุ่น」
วิธีการใช้บริการระบบปลอดภาษี

จาก ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ「เงิน」ของประเทศญี่ปุ่น
การใช้บริการระบบปลอดภาษี
ประกอบด้วย 2 วิธีด้วยกัน
(1)วิธีการชำระเงินค่าสินค้าในมูลค่าที่หักภาษีผู้บริโภคแล้วโดยการแสดงพาสปอร์ตตอนซื้อ
(2) วิธีการหลังจากชำระภาษีผู้บริโภคแล้วก็ไปขอเงินภาษีผู้บริโภคคืนทีหลังโดยการแสดงสินค้าที่ซื้อ ใบเสร็จ และพาสปอร์ตที่เคาน์เตอร์รับรองลูกค้าภายในร้านในวันเดียวกัน
เนื่องจากร้านค้าที่มีบริการปลอดภาษีผ่านการยกเว้นภาษีให้กับนักท่องเที่ยวมาอย่างนับไม่ถ้วนแล้ว เราจึงสามารถขอยกเว้นภาษีได้อย่างราบรื่นกันแน่นอน